การปลูกและการดูแลรักษายางพารา

การปลูกและการดูแลรักษา
การขยายพันธุ์
ยางพาราสามารถทำการขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ใช้วิธีการติดตาเขียว ติดตาสีน้ำตาล เป็นต้น แต่การขยายด้วยเมล็ด ปัจจุบันในประเทศไทยไม่นิยมการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้เพราะไม่มีสวนเก็บเมล็ดโดยตรง  และเมล็ดยางพาราที่นำไปปลูกจะมีการกลายพันธุ์มาก แต่การใช้เมล็ดขยายพันธุ์ มักจะนำไปใช้เพาะต้นกล้าเพื่อใช้ทำเป็นต้นตอสำหรับติดตาเป็นส่วนใหญ่  ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา จะแบ่งออกเป็นการติดตาเขียว และการติดตาสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการติดตาเขียวมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีเปอร์เซ็นต์การติดสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการขยายพันธุ์วิธีดังกล่าวมีวิธีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ
1. การสร้างแปลงกล้ายาง          วัสดุที่จะใช้ปลูกแปลงกล้ายาง อาจใช้ส่วนประกอบเพียง 3 ชนิด คือ เมล็ดสด เมล็ดงอก และต้นกล้า 2 ใบ  จากการศึกษาเรื่องการเลือกใช้ส่วนประกอบของยางพาราสำหรับปลูกทำแปลงกล้ายางนั้น พบว่าการใช้เมล็ดสดในการปลูกจะดีที่สุดเนื่องจากต้นกล้ายางที่ได้  จะโตเร็วและแข็งแรง  มีระบบรากดี  และเป็นการประหยัดงานและเวลา ส่วนการปลูกด้วยต้นกล้า 2 ใบ นั้นต้นกล้าจะตายเป็นจำนวนมาก และมากกว่าการปลูกด้วยเมล็ดถึง 2 เท่า ในช่วงระยะ เวลา 6 เดือน ซึ่งกล้ายาง 2 ใบนั้นควรใช้นำไปปลูกกรณีที่หาเมล็ดไม่ได้เท่านั้น  สำหรับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการสร้างแปลงและวิธีการปลูกตลอดจนการดูแลรักษา  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้                     
1. การเลือกพื้นที่ในการปลูก ควรเลือกสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ราบ ดินร่วนเพราะจะมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำและการคมนาคมสะดวก                                              
2. การเตรียมดิน ควรทำการไถพลิกดิน 2 ครั้ง หลังจากนั้นทำการไถพรวนอีก 1 ถึง 2 ครั้ง แล้วแต่ความเหมาะสมเพื่อให้พื้นที่มีความเรียบสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันควรเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมดในการไถพรวนครั้งสุดท้าย และควรหว่านปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 100 กิโลกรัม และแมกนีเซียมไลปัส-โตน 40 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เนื่องจากดินในประเทศไทย หากปลูกกล้ายางพาราหลายๆ ครั้งซ้ำกันในที่เดียวกัน กล้ายางมักจะแสดงอาการขาดธาตุแมกนีเซียม  และแผ่นใบตรงกลางระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดเหลืองหรือขาว โดยจะแสดงอาการหลังจากยางงอกแล้วประมาณ 2 ถึง 3 เดือน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมไลมัสโตนจึงมีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะในแปลงกล้าที่เกิดอาการขาดธาตุแมกนีเซียมแล้วก่อนจะทำใหม่ต้องใส่แมกนีเซียมก่อนทุกครั้ง                                           
 3. การวางแผนผังแปลงกล้า แปลงกล้ายางแต่ละแปลงย่อย  ไม่ควรมีพื้นที่เกิน 1 ไร่ หากเป็นการให้น้ำแบบระบบสปริงเกอร์ควรจัดขนาดแปลงเข้ากับระบบน้ำ และรอบแปลงแต่ละแปลงควรวางแนวขุดคูระบายน้ำ และหากเป็นพื้นที่ลาดชัน ควรวางแถวปลูกขวางแนวลาดชัน และควรจะยกร่องปลูกเป็นแถวคู่ เพื่อป้องกันน้ำชะเมล็ด
  4. วิธีการปลูก มีอยู่ 3 วิธีคือ          
1.การปลูกด้วยเมล็ดสด  เริ่มตั้งแต่การวางแนวปลูก  โดยปักไม้ชะมบไว้ที่หัวและท้ายแปลง ในระยะ 30 x 60 เซนติเมตร ในลักษณะเป็นแนวยาวแล้วขึงเชือกระหว่างไม้ชะมบกับหัวท้ายแปลง ซึ่งจะเป็นแนวสำหรับเรียงเมล็ดสด จากนั้นใช้จอบลากเป็นร่องลึก ประมาณ 5 เซนติเมตรตามแนวเชือก  แล้วนำเมล็ดสดมาวางเรียง  ห่างปกติในช่วงระยะ 1 เมตร  จะวางเรียงประมาณ 18 ถึง 24 เมล็ด ในการเรียงนั้นให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง   หลังจากนั้นทำการกลบดิน  ซึ่งในการปลูกแต่ละแปลงนั้นจะใช้เมล็ดประมาณ 300
2.การปลูกด้วยเมล็ดงอก  เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดยางในแปลงเพาะเมล็ด โดยยกร่องกว้าง 1 เมตร 20 เซนติเมตร  ส่วนความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับความต้องการ  จากนั้นใช้ทรายหรือขี้เลื่อยเก่าๆ กลบบนแปลงเพาะแล้วเกลี่ยให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม  หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์เมล็ดก็จะงอก  ทำการเก็บเมล็ดที่งอกไปปลูกได้ทุก
3.การปลูกด้วยกล้ายาง 2 ใบ   เริ่มตั้งแต่การจัดวางแนวปักไม้ชะมบไว้ที่หัวแถวที่ระยะ 30 x 60 เซนติเมตร แล้วขึงเชือกซึ่งได้ทำเครื่องหมายกำหนดระยะต้นไว้แล้วทุกระยะ 25 เซนติเมตร  จากนั้นใช้ไม้ที่เสี้ยมปลายแหลมหรือเหล็กปลายแหลมนำมาเจาะดินให้เป็นหลุมขนาดพอดีกับความยาวของราก และนำต้นกล้ายาง 2 ใบที่ได้คัด เลือกต้นที่แข็งแรง ใบแก่และรากไม่คดงอ นำมาตัดรากให้เหลือประมาณ 20 เซนติเมตร และตัดใบออกหมดเพื่อลดการคายน้ำหลังจากที่ทำการปลูก  หลังจากนั้นต้องกดดินรอบโคนต้นให้


5. การกำจัดวัชพืช จะต้องมีการกำจัดวัชพืชจำนวน 4 ครั้ง  ดังรายละเอียดดังนี้
ครั้งที่ 1  การกำจัดวัชพืชก่อนงอก   ทำการพ่นสารเคมีก่อนและหลังการปลูก  โดยใช้สารเคมีไลนูรอนในอัตรา 250 กรัมต่อน้ำ 80 ลิตร หรือสารเคมีไดยูรอน ในอัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่
ครั้งที่ 2 การกำจัดวัชพืชหลังจากการปลูก 6 ถึง 8 สัปดาห์  จะต้องถางวัชพืชออกให้หมดก่อน หลังจากนั้นจะพ่นตามด้วยสารเคมีไดยูรอน ในอัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่
ครั้งที่ 3 การกำจัดวัชพืชเมื่อต้นยางพารา มีอายุ 4 เดือน จะต้องทำการถางวัชพืชออกให้หมดก่อน  จากนั้นจะพ่นตามด้วยสารเคมีไดยูรอน ในอัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่
ครั้งที่ 4 การกำจัดวัชพืชต้นฤดูฝนในระยะติดตา  โดยการใช้สารเคมีพาราควัท ในอัตรา 6,000 กรัมต่อน้ำ 50 ถึง 60 ลิตรต่อ
6. การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นกล้ายางเจริญเติบโตสักระยะหนึ่งแล้ว  ควรใส่ปุ๋ยเป็นระยะเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์ติดตาได้เร็ว ปุ๋ยที่ใช้สำหรับต้นกล้ายางควรเป็นดังนี้                  
สำหรับดินร่วนปนทราย ใช้ปุ๋ยสูตร 3 (16-8-14) สำหรับดินร่วนปนเหนียวใช้ปุ๋ยสูตร 1 (18-10-6) ระยะเวลาในการใส่โดยแบ่งใส่เป็น 4 ครั้ง คือเมื่อยางพารามีอายุ 1 เดือน  2 เดือน  3 เดือน และก่อนติดตา 1 เดือน โดยใช้อัตรา 36 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 15 กรัมต่อช่วงระยะ 1 เมตร ในแถวคู่ ส่วนวิธีการใส่ปุ๋ย  การใส่ปุ๋ยใน 2 ครั้งแรก ใช้วิธีหว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างประมาณ 8 เซนติเมตรในระหว่างแถวคู่ หลังจากนั้นใช้คราดเกลี่ยดินกลบเพื่อให้ปุ๋ยคลุกเข้ากับดิน และการใส่ปุ๋ยครั้งต่อไป ควรใช้วิธีการหว่านปุ๋ยให้ทั่วแปลงที่จะปลูกโดยระวังไม่ให้ถูกใบอ่อนกล้ายาง
2. การสร้างแปลงกิ่งตา
         ปัจจุบันนิยมวิธีการสร้างแปลงผลิตกิ่งตาสีเขียวมากกว่าสีน้ำตาล เพราะช่วยในการประหยัดต้นทุนการผลิต และสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ในการเลี้ยงกิ่งตาสีเขียวจะใช้วิธีเลี้ยงกิ่งกระโดงประมาณ 3 ถึง 4 ฉัตร ตัดยอดกระโดงให้แตกกิ่งแขนงตาเขียวออกมาประมาณ 1 ฉัตร ก็สามารถตัดเพื่อนำไปใช้ติดตาได้ หากยังไม่ต้องการใช้อาจจะปล่อยไว้เป็น 2 ฉัตรก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 3 ฉัตร เพราะจะทำให้ลอกแผ่นตาได้ยาก อีกวิธีหนึ่งคือการตัดกิ่งกระโดงตาเขียวและเขียวปนน้ำตาลไปใช้ได้เลย แต่จะได้จำนวนตาน้อยกว่าและจะต้องใช้เวลาในการเสียบกิ่งนานกว่า
  1. การเลือกพื้นที่ปลูกควรเป็นพื้นที่ราบ ดินควรเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี  ระบายน้ำได้ดี ตั้ง อยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่มีไม้ยืนต้นอื่นปะปน
         2. การเตรียมพื้นที่ปลูก พื้นที่ปลูกจะต้องทำการไถพรวนดินและใส่ปุ๋ย  โดยจะปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมพื้นที่ทำแปลงเพาะกล้ายาง จากนั้นก็วางผังแปลงที่จะปลูก และกำหนดพันธุ์ยางพาราที่จะปลูกตามปริมาณของแต่ละพันธุ์ตามความต้องการที่จะปลูก โดยการแบ่งแปลงกิ่งตาออกเป็นแปลงย่อย เว้นระยะห่างแต่ละระยะอย่างชัดเจน เช่น ระยะการปลูกในแต่ละแปลง ควรมีขนาด 1 x 2 เมตร และระยะห่างระหว่างแปลงควรมีระยะห่าง 3 เมตร เป็นต้น
        3. ระยะการปลูก การปลูกสร้างแปลงกิ่งตายางเพื่อผลิตกิ่งตาเขียวใช้ระยะปลูกดังนี้
1 x 2 เมตร            = 800 ต้นต่อไร่
1.25 x 1.50 เมตร   = 853 ต้นต่อไร่
1.50 x 1.50 เมตร   = 711 ต้นต่อไร่
1.25 x 1.25 เมตร   = 1,024 ต้นต่อไร่ 
4. การดูแลรักษาการใส่ปุ๋ยในช่วงแรกจะใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ 25 กรัมต่อหลุม ผสมกับดินที่ใส่รองก้นหลุม  ส่วนการใส่ปุ๋ยในแปลงกิ่งตา ควรใช้ปุ๋ยยางอ่อนสูตร 1 สำหรับดินเหนียว หรือสูตร 3 สำหรับดินร่วนหรืออาจใช้ปุ๋ย 15-15-6-4  หรือ 15-15-15 แทน  และแบ่งใส่ปุ๋ย จำนวน 4 ครั้งต่อปี ครั้งละ 36 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีหว่านรอบโคน
5. การตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายาง หลังจากปลูกจนต้นยางมีความสูจากพื้นประมาณ 1 เมตร หรือต้นมีเปลือกสีน้ำตาล หรือมีอายุประมาณ 1 ปี จะตัดกิ่งตาทั้งกระโดงไปใช้ได้เลย แต่หากจะเลี้ยงเป็นกิ่งตาเขียว ให้ตัดยอดฉัตรกิ่งบนสุดทิ้งไป (ตัดเลี้ยงครั้งที่ 1)  จากนั้นปล่อยให้มีการแตกกิ่งแขนงออกมาบริเวณฉัตรยอด เลี้ยงไว้ จำนวน  3 ถึง 4 กิ่ง เมื่อกิ่งยอดฉัตรแก่แล้วก็สามารถตัดไปใช้ได้  และขณะเดียวกันก็ทำการตัดเลี้ยงเป็นครั้งที่ ในแต่ละปี จะตัดเลี้ยงกิ่งตาได้ จำนวน 3 ครั้ง เมื่อหมดฤดูกาลติดตาแล้วจะตัดต้นล้างแปลง โดยให้เหลือกิ่งกระโดง  จำนวน 1 ถึง 2 กระโดง  มีความสูงจากพื้นดิน ประมาณ  75 เซนติเมตร เพื่อเลี้ยงกิ่งกระโดงไว้ผลิตกิ่งตาเขียวในปีที่ 2 เมื่อเลี้ยงกิ่งกระโดงได้  จำนวน 3 ถึง 4 ฉัตร   ก็ให้ปฏิบัติเหมือนกับการตัดแต่งกิ่งในปีที่ 1 อีก  และเมื่อเข้าสู่ปีที่ ต้นกิ่งตาจะเลี้ยงกิ่งกระโดง และในปีที่ 4 ต้นกิ่งตาจะเลี้ยงกิ่งได้ถึง 4 กระโดง

3. วิธีการติดตาเขียว การติดตาเขียวจะได้ผลสำเร็จสูงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่         
1. ต้นกล้ายางจะต้องมีความสมบูรณ์แข็งแรง มีอายุประมาณ 4 ½ ถึง 8 เดือน  ขนาดของลำต้นมีเส้น ผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร วัดจากระดับสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร มีลำต้นตั้งตรง โคนรากไม่คดงอและลอกเปลือกได้ง่าย        
 2. กิ่งตาเขียว กิ่งที่ได้จากแปลงกิ่งตายาง ซึ่งได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นพันธุ์ยางพาราที่ถูกต้อง กิ่งตาเขียวที่สมบูรณ์จะต้องมีอายุ 42 ถึง 49 วัน  ลอกเปลือกได้ง่าย ไม่เปราะหรือมีเสี้ยนติดเนื้อไม้         
3. ความชำนาญในการติดตา  วิธีการติดตาเขียวสามารถฝึกหัดได้ง่าย  ผู้ที่มีความชำนาญแล้วจะได้รับผลสำเร็จสูงกว่าร้อยละ 90 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย โดยทั่วไปผู้ที่มีความชำนาญจะสามารถติดตาได้ประมาณ 300 ต้นต่อวัน        
 4. ฤดูกาล ควรเป็นต้นฤดูฝนไปจนถึงกลางฤดูฝน   ส่วนปลายฤดูฝนไม่ควรทำการติดตาเพราะเมื่อตัดต้นเพื่อให้กิ่งตาผลิออกมาก็จะเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง  ซึ่งจะทำให้ต้นยางพาราตายได้ แต่หากติดตาแล้วถอนนำไปชำไว้ในถุงพลาสติกก็สามารถปฏิบัติได้  และหากในแปลงกล้ายางมีการรดน้ำตลอดทุกวัน ก็จะสามารถติดตาได้ตลอดทั้งปี         
5. วัสดุอุปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตา  ได้แก่ กรรไกรตัดกิ่งตา ถุงพลาสติกใส่กิ่งตา แถบพลาสติกใส  ขนาดกว้าง 5/8 นิ้ว หนา 0.05 มิลลิเมตร หินลับมีด เศษผ้าสำหรับทำความสะอาดต้นยางพารา





วิธีปฏิบัติ
         1. เลือกต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ ทำความสะอาดโคนต้นกล้าด้วยเศษผ้า โดยการเช็ดสิ่งสกปรกและทรายออกต้นกล้า
         2. เปิดรอยกรีดโดยใช้ปลายมีดกรีดตามความยาวลำต้น จำนวน 2 รอย ความยาว 7 ถึง 8 เซนติเมตร ห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร ให้ส่วนล่างของรอยกรีดสูงจากพื้นดิน ประมาณ 1 ถึง 2 เซนติเมตร แล้วใช้มีดกรีดเป็นแนวขวางกับรอยกรีดโดยให้ด้านบนให้เชื่อมติดกัน แล้วใช้ปลายมีดหรือด้ามงาบแคะเปลือกบริเวณมุมแล้วลอกเปลือกลงข้างล่างจนสุด จากนั้นตัดเปลือกที่ดึงออกให้เหลือเป็นลักษณะของลิ้นสั้นๆ ความยาวประมาณ 1 ถึง 1½  เซนติเมตร
         3. เตรียมแผ่นตาที่ได้จากกิ่งตาเขียว ใช้มีดคมเฉือนออกอย่างเบามือ โดยเริ่มจากด้านปลายไปยังด้านโคนโดยให้ติดเนื้อไม้บางๆ  อย่างสม่ำเสมอตลอดแนวยาว  ความยาวประมาณ 8 ถึง 9 เซนติเมตร  และให้มีตาอยู่ตรงกลางแผ่น  ความกว้างของแผ่นตากะประมาณให้พอดีกับความกว้างของรอยแผล  และเปิดเปลือกบนต้นกล้า  หากการเฉือนแผ่นตาหนาให้มีความหนามากเกินไปจะทำให้ลอกออกยาก  เนื่องจากแผ่นตาเขียวช้ำได้ง่าย ดังนั้นก่อนก่อนเฉือนแผ่นตาต้องแน่ใจว่ามีดคมและสะอาดพอ
         4. แต่งแผ่นตาทั้ง 2 ข้างให้มีลักษณะบางๆ ขนาดพอให้แผ่นตาเข้ากับรอยเปิดกรีดบนต้นตอ  จากนั้นก็ตัดปลายด้านล่างออก
         5. ลอกแผ่นตาออกจากเนื้อไม้  โดยการใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างจับปลายด้านบนของแผ่นตา  ใช้นิ้วกลางประคองแผ่นตาส่วนล่างแล้วค่อยๆ ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา โดยพยายามอย่าให้ส่วนที่เป็นเปลือกโค้งงอ   หรืออีกวิธีหนึ่งใช้การลอกด้วยปากโดยใช้มือข้างหนึ่งจับแผ่นตาไว้  แล้วหันด้านปลายแผ่นตาที่ยังไม่ตัดเข้าหาปาก  ใช้ฟันยึดส่วนที่เป็นเนื้อไม้แล้วใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งจับเปลือกด้านล่างไว้  แล้วค่อยๆ ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา   พยายามไม่ให้เปลือกโค้งงอเช่นกัน  ตรวจดูแผ่นตาที่ลอกเสร็จ  หากแผ่นตาซ้ำหรือจุดเยื่อเจริญหลุดหรือแหว่งหรือไม่สมบูรณ์ก็ให้ทิ้งไป  ใช้เฉพาะแผ่นตาที่สมบูรณ์เท่านั้น

         6. สอดแผ่นตาที่ลอกเนื้อไม้ออกแล้วนี้ใส่ลงในลิ้นเปลือกต้นตอเบาๆ อย่างรวดเร็ว  และในขณะที่ใส่ระวังอย่าให้แผ่นตาถูกเนื้อไม้   เพราะจะทำให้แผ่นตาและเยื่อราเกิดอาการช้ำได้ และตัดส่วนของแผ่นตาที่เกินอยู่ข้างบนทิ้งหรือจะทิ้งไว้ เพื่อรอตัดออกในขณะที่พันผ้าพลาสติกก็ได้
         7. พันแผ่นตาด้วยแผ่นพลาสติกใส  ขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร  โดยพันจากด้านล่างขึ้นข้างบนให้แผ่นตาแนบกับแผลรอยเปิดของต้นกล้า   และให้ขอบพลาสติกทับกันสูงขึ้นไปจนเหนือรอยตัดตา 2 ถึง 3 รอบ  ผูกพลาสติกให้แน่นโดยการสอดปลายเข้าไปในพลาสติกรอบสุดท้ายแล้วดึงให้แน่น
         8. ตรวจสอบความเรียบร้อยพร้อมทั้งปักป้ายแสดงวันที่ติดตา ชื่อพันธุ์ยางพาราและจำนวนต้น หลังจากนั้นอีก 21 วัน  ให้ตรวจดูความเจริญเติบโต   หากแผ่นตายังคงมีสีเขียวแสดงว่าการติดตาประสบผลสำเร็จ  ให้ใช้มีดกรีดพลาสติกบริเวณด้านตรงข้ามเพื่อไม่ให้พลาสติกหลุดออกจากแผ่นตา  แต่หากแผ่นตาเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล  แสดงว่าการติดตาไม่ประสบผลสำเร็จ   ให้ใช้มีดกรีดพลาสติกด้านหลังออกเพื่อทำการติดตาซ้ำหลังจากตรวจผลสำเร็จและเมื่อนำพลาสติกออกแล้ว  ปล่อยให้ต้นที่ติดตาอยู่ในแปลงไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ก่อนที่จะถอนไปปลูกหรือตัดต้นยางพาราทีมีอยู่เดิมทิ้ง
ข้อควรระวังในการติดตา
1. ไม่ควรติดตาในเวลาที่มีอากาศร้อนจัด
2. การนำกิ่งตาไปติดตาแต่ละครั้ง  มีจำนวนไม่เกินกว่า 30 กิ่ง
3. เลือกติดตาเฉพาะต้นตอที่มีความสมบูรณ์
4. มีดที่จะทำการติดตาจะต้องคมอยู่เสมอ
5. อย่าให้แผ่นตาช้ำหรือปล่อยให้น้ำเลี้ยงแห้ง
6. พันแผ่นตาให้แน่นอย่าให้น้ำเข้าไปได้


ฤดูปลูก
เมื่อเริ่มเข้าฤดูแล้งประมาณเดือนมกราคม  ควรจะเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกยางพาราโดยเก็บไม้ออกจากบริเวณพื้นที่ให้เรียบร้อย  ทำการไถพรวนดินและวางแนวขุดหลุมปลูก  หากผสมปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมด้วยควรจะดำเนินการให้เสร็จก่อนจะปลูกยางในช่วงฤดูฝน 1 เดือน  โดยฤดูฝนจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม หากพื้นที่มีความชื้นเพียงพอ ก็จะสามารถปลูกต้นยางชำถุงได้  และการปลูกต้นตอควรให้มีความชื้นเต็มที่ในขณะปลูกไม่น้อยกว่า 2 เดือน หลังปลูก 15 วัน ถึง 1 เดือนควรมีการปลูกซ่อม โดยต้องปลูกซ่อมให้เสร็จก่อนจะหมดฤดูฝนอย่างน้อย 2 เดือน เพราะในช่วงกลางฤดูฝน  ฝนมักตกทิ้งช่วงให้ฝักของเมล็ดยางพาราแห้ง และแตกร่วงหล่น  การตกของเมล็ดยางพาราช่วงนี้เรียกว่า เมล็ดยางในปี (เป็นเมล็ดที่สำคัญในการขยายพันธุ์ยางพารา) ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เมล็ดยางพาราเหล่านี้นำมาปลูกเพื่อทำกล้ายางสำหรับติดตาในแปลงปลูก หรือนำไปทำเป็นวัสดุปลูกขยายพันธุ์ต่อไปก็ได้



หมายเหตุ:         
 - กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง      
- ขณะที่ยางมีอายุ 1ถึง 3 ปี สามารถปลูกพืชแซมยางได้      
- หากไม่ปลูกพืชแซมยางหรือหลังจากที่ปลูกพืชแซมแล้วควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว      
- เริ่มเปิดกรีดเมื่อต้นยางมีขนาดเส้นรอบต้นไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร (วัดตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 1.50 เมตร) และมีจำนวนต้นยางที่ได้ ขนาดเปิดกรีดนั้นไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนต้นยางที่จะเปิดกรีดทั้งหมด ปกติจะเริ่มกรีดได้ในปีที่ 7     
 - ระบบกรีดที่เหมาะสมกัน คือ ครึ่งลำต้นวันเว้นวัน     
 - หยุดกรีดยางขณะยางผลัดใบโดยหยุดเมื่อใบยางร่วงแล้วครึ่ง หนึ่งของใบยางทั้งหมดในต้น หรือเมื่อน้ำยางลดลงครึ่งหนึ่งของที่เคยได้รับตามปกติ และหยุดกรีดเมื่อฝนตกหรือต้นยางเปียก     
 - เวลาอาจคลาด เคลื่อนได้บ้างตามฤดูกาลของแต่ละพื้นที่ ไฟไหม้สวนยางพาราในช่วงเริ่มปลูกจนถึงก่อนเปิดกรีดเป็นปัญหา สำคัญของเกษตรกร หากสามารถป้องกันไฟไหม้สวนยางได้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการปลูกสร้างสวนยางจะมีสูงยิ่ง

การกรีดยาง
การกรีดยางเพื่อให้สะดวกต่อการกรีด และยังคงรักษาความสะอาดของถ้วยรองรับน้ำยางนั้นควรคำนึงถึงระดับความเอียงของรอยกรีดและความคมของมีดที่ใช้กรีดซึ่งต้องคมอยู่เสมอ[1]
เวลากรีดยาง : ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกรีดยางมากที่สุดคือ ช่วง 6.00-8.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางได้อย่างชัดเจนและได้ปริมาณน้ำยางใกล้เคียงกับการกรีดยางในตอนเช้ามืด แต่การกรีดยางในช่วงเวลา 1.00-4.00 น. จะให้ปริมาณยางมากกว่าการกรีดยางในตอนเช้าอยู่ร้อยละ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุดด้วย แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดมีข้อเสีย คือ ง่ายต่อการกรีดบาดเยื่อเจริญส่งผลให้เกิดโรคหน้ายางทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองและไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้าย  การหยุดพักกรีด : ในฤดูแล้ง ใบไม้ผลัดใบหรือฤดูที่มีการผลิใบใหม่ จะหยุดพักการกรีดยางเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของใบและต้นยาง การกรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก จะทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือเปลือกเน่าได้
การเพิ่มจำนวนกรีด : สามารถเพิ่มจำนวนวันกรีดได้โดย
การเพิ่มวันกรีด : สามารถกรีดในช่วงผลัดใบแต่จะได้น้ำยางในปริมาณน้อย ไม่ควรเร่งน้ำยางโดยใช้สารเคมีควรกรีดเท่าที่จำเป็นและในช่วงฤดูผลิใบต้องไม่มีการกรีดอีก
การกรีดยางชดเชย : วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วันในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืน
การกรีดสาย : เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสายซึ่งจะกรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด


วิธีปลูก
วิธีปลูก
สำหรับการปลูกยางพารา  มีวิธีการปลูกหลายวิธีการที่ใช้ได้ผลดีและนิยมนำมาปฏิบัติกัน ได้แก่ วิธีปลูกด้วยเมล็ดแล้วนำมาติดตาในแปลง   การปลูกด้วยต้นตอตา  และการปลูกด้วยต้นยางชำในถุง การจะเลือกใช้วิธีการใดในการปลูกยางพารานั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  เช่น ความสะดวก การเจริญเติบโตและความแข็งแรงของต้นยางพารา และเงินทุน เป็นต้น  ดังรายละเอียดดังนี้



การปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง
        การปลูกสร้างสวนยางพาราโดยวิธีนี้จะได้ต้นยางพาราที่มีระบบรากที่แข็งแรงดี มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ  ข้อดีของต้นยางพาราที่ติดตาแล้ว คือยังคงจำนวนเหลือพอที่จะใช้ปลูกซ่อมหรืออาจจำหน่ายให้เจ้าของสวนอื่นได้อีก การปลูกแบบดังกล่าวมีวิธีการคือ
         1. การเตรียมพื้นที่ โดยการไถพลิกดิน และเก็บเศษวัชพืชออกจากพื้นที่ให้หมด  จากนั้นทำการไถพรวนซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ดินร่วนและทำการปักไม้ชะมบตามระยะปลูกที่กำหนด
         2. เตรียมหลุมปลูก โดยให้ขนาดของหลุมที่ใช้ปลูก มีความกว้าง ยาวและลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร หลังจากนั้นให้ตากแดดทิ้งไว้ 10 ถึง 15 วัน เพื่อให้มีการย่อยของดินที่อยู่ชั้นบนผสมกับปุ๋ยหินร็อคฟอสเฟตในอัตรา 170 กรัมต่อหลุมคลุกเคล้าลงไปในหลุม
         3. นำเมล็ดมาปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ 3 เมล็ด มีระยะห่างระหว่างเมล็ด 25 เซนติเมตร  การวางเมล็ดควรวางให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง  หรือหากปลูกด้วยเมล็ดงอกก็ให้ด้านรากของเมล็ดคว่ำลง ลึกลงไปจากผิวดินประมาณ 3 เซนติเมตร
         4. ทำการติดตา เมื่อกล้ายางมีอายุได้ 7 ถึง 8 เดือนหรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 1 ถึง 1 1/2 เซนติเมตร ก็จะทำการติดตาบริเวณตำแหน่งในระดับสูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร หลังจากนั้น 21 วัน หากการติดตาสำเร็จมากกว่า 1 ต้น ก็ให้เลือกตัดเฉพาะยอดต้นยางพาราที่สมบูรณ์ที่สุดที่มีความสูงระดับ 10 ถึง15 เซนติเมตร เอียง 45 องศา ทางด้านตรงข้ามกับแผ่นตา จากนั้นอีก 1 เดือน ถ้าหากตาของต้นที่ตัดยังไม่แตกก็พิจารณาติดต้นอื่นต่อไป
         5. การดูแลรักษา ก่อนทำการติดตาต้องทำการกำจัดวัชพืชพร้อมกับการใส่ปุ๋ยก่อนทุกครั้ง โดยใช้สูตร 1 หรือ 3 ในอัตรา 15 กรัมต่อต้นหลังจากปลูกไปแล้วในเดือนที่ 1 เดือนที่ 2 และเดือนที่ 3 และก่อนติดตา 1 เดือน จากนั้นหลังจากการติดต้นเดิมแล้วก็จะใส่ปุ๋ยสูตร 1(18-10-6) หรือสูตร 3 (16-18-14) สูตรใดสูตรหนึ่งตามรายละเอียดในตารางด้านล่าง


การปลูกด้วยต้นยางชำถุง
        เป็นวิธีปลูกยางพาราที่ประสบผลสำเร็จสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ เนื่องจากช่วยให้ต้นยางพารามีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ  ลดช่วงระยะเวลาในการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง  และสามารถกรีดยางได้เร็วกว่าการปลูกด้วยต้นตอตาหรือติดตาในแปลง  การปลูกด้วยต้นยางชำถุง มีอยู่วิธีการปฏิบัติ 2 วิธีคือ การใช้วิธีติดตาในถุง ทำโดยการปลูกต้นกล้ายางในถุง ขนาด 8 x 10 นิ้ว  เมื่อต้นกล้ายางอายุ 4 ถึง 8 เดือน ก็ทำการติดตา และอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ต้นตอตาเขียวมาปลูกในถุง ขนาด 5 x 16 นิ้ว และขนาด 4 x 15 นิ้ว ทั้ง 2 วิธีจะมีความแตกต่างกันคือ การชำถุงด้วยต้นตอตาเขียวจะใช้เวลาในการแตกฉัตรที่ 1 และ 2 นานกว่าวิธีการติดตาในถุง คือการปลูกด้วยต้นตอตาเขียวจะใช้เวลาเติบโต ถึง 10 สัปดาห์  แต่การติดตาในถุงจะใช้เวลา 6 ถึง สัปดาห์เท่านั้น ในด้านความเสียหายเมื่อย้ายที่จะปลูก คือต้นยางชำถุงที่ปลูกด้วยวิธีติดตาในถุงจะมีความเสียหายสูงกว่าการชำถุงด้วยต้นตอตาเขียว 5 ถึง 6 เท่าตัว
สำหรับวิธีการปลูก ด้วยต้นยางชำถุงจะมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้
1. เตรียมต้นยางชำถุงโดยใช้ต้นตอตาเขียว  เริ่มตั้งแต่การนำดินกรอกใส่ถุง  ขนาด 4 x 15 นิ้ว  โดยใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตรา 7-10 กรัมต่อถุง  แล้วนำมาอัดใส่ถุงให้แน่น  ใช้ไม้ปลายแหลมปักลงบริเวณกลางถุงให้เป็นรู ใช้ต้นตอตาปลูกให้ตาสูงจากดินในถุง ประมาณ 2 นิ้ว   อัดดินให้แน่นแล้วนำไปเรียงไว้ในที่ร่มที่มีแดดรำไร ในระยะแถวกว้าง 10 ถุง  และเมื่อตาแตกออกจึงจัดขยายเป็น 4 ถุงต่อความกว้างของแถว   การบำรุงรักษาหลังจากตางอกแล้ว 2 ถึง 3 สัปดาห์  ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 1 ในครั้งแรกและครั้งต่อไปทุก 2 ถึง 4 สัปดาห์  ในอัตรา 5 กรัมต่อถุงจนกว่าต้นตาจะโต 1 ถึง 2 ฉัตร  และมีใบแก่เต็มที่  (โดยการสังเกตยอดของฉัตรที่เริ่มผลิตยอดอ่อนเป็นปุ่มขึ้นมา) จากนั้นก็พร้อมที่จะย้ายต้นและนำไปปลูกในแปลงได้
2. การปลูก เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การเตรียมหลุมปลูก  ซึ่งจะเหมือนกับการปลูกด้วยต้นตอตา  ส่วนวิธีการปลูก ให้ใช้มีดคมกรีดเอาก้นถุงออก กรณีที่มีราม้วนอยู่ก้นถุงให้ตัดออกด้วย นำถุงหย่อนลงในหลุม  แล้วใช้มีดกรีดถุงอีกครั้ง  จากก้นถุงจนถึงปากถุงทั้ง 2 ข้าง  จากนั้นนำดินมากลบพอหลวมแล้วดึงเอาถุงพลาสติกออก   และกลบดินเพิ่มและกดให้แน่นจนได้ระดับบริเวณโดยให้โคนต้นสูงอยู่ในระดับเดียวกับต้นที่ปลูกในถุง  ส่วนการดูแลรักษาโดยเฉพาะระยะเวลาการใส่ปุ๋ย  ชนิดของปุ๋ยและปริมาณที่ใส่ก็จะกระทำเหมือนกันกับการปลูกด้วยต้นตอตา
การดูแล
การปลูกซ่อม
        การปลูกยางพาราไม่ว่าจะใช้วัสดุปลูกชนิดใด  ภายหลังจากที่ทำการปลูกไปแล้ว ย่อมจะมีต้นยางพาราที่แตกต่างกันเสมอ  ส่วนจะมีมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความสมบูรณ์ของวัสดุที่ใช้ปลูก สภาพภูมิอากาศ ความชำนาญของผู้ปลูก และผลจากการทำลายของโรคและแมลงเป็นต้น โดยจุดประสงค์แล้วการปลูกซ่อมยางพาราก็เพื่อต้องการให้ได้จำนวนต้นยางที่ปลูกมีจำนวนเท่าเดิมและไม่มีหลุมว่าง ซึ่งจะทำให้ได้รับผลผลิตอย่างเต็มที่  อีกประการหนึ่งสิ่งที่จะต้องคำนึงอยู่เสมอในการปลูกซ่อมยางพาราก็คือ การเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอของยางพาราเดิมและยางพาราที่ปลูกซ่อมใหม่  ในการปลูกซ่อมเพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงต้องพิจารณาใช้วัตถุปลูกซ่อมอย่างเหมาะสม  การจะใช้วัสดุปลูกซ่อมชนิดใด เช่น ต้นตอตา ต้นติดตา หรือต้นยางชำถุง ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของต้นยางพาราในแปลงปลูกในระยะนั้นๆ

การตัดแต่งกิ่งยางพารา 2 ส่วนคือ
การตัดแต่งกิ่งบริเวณลำต้น
 1. ตัดกิ่งแขนงที่เกิดจากต้นตอเดิมออกจากต้นให้หมด โดยเฉพาะในยางพาราที่ปลูกด้วยต้นตอตาหรือปลูกโดยวิธีติดตาในแปลง        
2. กิ่งที่แตกออกจากลำต้นในระยะจากโคนต้นสูงขึ้นมา 30 เซนติเมตร หากมีกิ่งที่มีฉัตรใบ 2 ถึง 3 ฉัตร หรือกิ่งที่เจริญดีกว่ายอดก็ทำการตัดออกให้หมด        
3. ต้นที่มีลำต้นสูง 1.8 ถึง 2 เมตร  หากยังไม่แตกกิ่งจะต้องสร้างทรงพุ่มโดยวิธีสอดยางหรือครอบยางและตัดกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ออก       
 4. เมื่อกิ่งแขนงที่ระดับ 1.3 ถึง 1.2 เมตร  มีฉัตรใบ 3 ถึง 4 ฉัตร ให้เลือกตัดกิ่งแขนงที่ต่ำกว่า 1.3 เมตรออก โดยเลือกตัดกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตเท่ากับครึ่งหนึ่งของลำต้น       
 5. ตัดกิ่งแขนงที่เจริญ 6 ถึง 8 ฉัตร ตรงระดับ 0.9 ถึง 1.3 เมตรออกจากต้น   หากเป็นต้นที่แตกกิ่งระดับ 1.8 ถึง 2 เมตร โดยให้ช่วยสร้างทรงพุ่มโดยวิธีควั่นลำต้น       
 6. เมื่อยางพาราอายุได้ 2 ปี ทำการตัดทุกกิ่งที่อยู่ต่ำกว่า 1.7 เมตรออกจากต้น
การตัดแต่งกิ่งบริเวณทรงพุ่ม       
 1. เมื่อต้นยางอายุ 2 ถึง 3 ปี จะต้องสังเกตและตัดกิ่งแขนงที่แตกจำนวนมากออกจากลำต้น  เพื่อให้พุ่มใบโปร่งลดแรงปะทะลม       
 2. กิ่งที่แตกออกเป็นคาคบ  จะมีขนาดไม่เท่ากันและทำให้น้ำหนักของกิ่งไม่สมดุลกัน ให้ทำการตัดกิ่งขนาดเล็กออกจากลำต้น        
3. เมื่อยางอายุ 3 ถึง 5 ปี  จะต้องเลือกตัดกิ่งออกจากลำต้นอีก เมื่อมีทรงพุ่มใบหนาเกินไป แต่ไม่ควรจะตัดยอดเพราะจะทำให้ยอดแตกกิ่งออกมามาก
การปลูกพืชแซมยาง
        การปลูกพืชแซมยาง  เป็นการใช้เนื้อที่สวนยางพาราในขณะที่ยางพารายังมีอายุไม่มาก   ก่อให้เกิดประโยชน์สวนยางพาราเอง ทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เจ้าของสวนในระยะ 3 ปีแรกในขณะที่ยางพารายังมีอายุไม่มากด้วย แต่การปลูกพืชแซมหากไม่พิจารณาอย่างถี่ถ้วนอาจเป็นผลเสียต่อต้นยางพาราที่ปลูกได้ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

วิธีการใส่ปุ๋ย
        วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดี  จะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติ และเมื่อใส่ปุ๋ยแล้วพืชสามารถดูดปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้   ใส่รองพื้น  นิยมใช้ปุ๋ยร๊อคฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยากเพราะถูกตรึงด้วยแร่ธาตุต่างๆ ในดิน โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงในหลุมก่อนปลูกยาง  ใส่แบบหว่าน  เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ต้องกรใส่ปุ๋ย   เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือ  จะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่หากเป็นที่ราบที่กำจัดพืชด้วยวิธีถากควรไถคราดเพื่อให้ปุ๋ยเข้ากับดินด้วย และเพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย ใส่แบบเป็นแถบ  เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการโรยเป็นแถบไปตามแนวแถวของต้นยางพาราที่อยู่ในร่องที่เซาะไว้ จากนั้นจึงทำการกลบ  วิธีนี้จะใช้กับต้นยางพาราที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได้ด้วย   ใส่แบบเป็นหลุม  เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้างของต้นยางประมาณ 2 ถึง 4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมแล้วทำการกลบให้เรียบร้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเทและไม่ได้ทำขั้นบันได  นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงในการใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็คือควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ และหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป นอกจากนี้ควรจะกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง หากต้องการให้ต้นยางพาราสมบูรณ์  แข็งแรง เจริญเติบโตดี สามารถเปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางพาราอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มต้นปลูกไปจนถึงก่อนโค่นต้นยาง 3 ถึง 5 ปี  โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น