ศัตรูยางพารา

ตัวอย่างโรคและแมลงศัตรูยางพาราที่พบในปัจจุบันมากที่สุด
1. โรคใบร่วงและฝักเน่า : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการใบยางร่วงในขณะที่ใบยังสด
2. โรคราแป้ง  : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการปลายใบอ่อนบิดงอ เปลี่ยนเป็นสีดำและร่วง ใบแก่มีปุยสีขาวเทาใต้ใบ เป็นแผลสีเหลืองก่อนที่จะเป็นเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล  โรคที่เกิดกับต้นยางพารามีดังนี้
1.โรคที่เกิดจากเชื้อคอลเลตโตริกัม (Colletotrichum Leaf Disease)   
ลักษณะอาการของโรค      ถ้าเกิดจากเชื้อ C.gloeosporioides เชื้อนี้เข้าทำลายใบยางขณะมีอายุ 5 – 15 วัน หลังจากเริ่มผลิ คือ ระยะที่ใบขยายและกำลังเปลี่ยนจากสีทองแดงเป็นเขียวอ่อน เมื่อเชื้อราเข้าทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวและหลุดร่วงทันที แต่ถ้าหากเชื้อราเข้าทำลายเมื่อใบโตเต็มที่แล้ว ใบจะแสดงอาการเป็นจุด ปลายใบหงิกงอ แผ่นใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีขอบแผลสีเหลือง เมื่อใบมีอายุมากขึ้นจุดเหล่านี้จะนูนจนสังเกตเห็นได้ชัด  ถ้าเกิดจากเชื้อ C.heveae ระยะเริ่มแรกของโรคนี้จะมีแผลเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กค่อนข้างกลม ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม แล้วขยายออกจนกลายเป็นแผลใหญ่ขึ้น ซึ่งแผลของโรคนี้จะใหญ่กว่าโรคที่เกิดจาก C. gloeosporioides ตรงกลางแผลจะเกิดจุดสีดำของราเป็นคล้ายขนแข็ง ๆ ยื่นขึ้นมาจากผิวใบ โรคนี้มักเกิดกับต้นยางที่ปลูกในดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์
การป้องกันกำจัด  
        1. เนื่องจากโรคนี้เกิดกับยางที่ไม่สมบูรณ์ การบำรุงรักษาสภาพดินให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นยาง จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด
        2. ป้องกันใบที่ผลิออกมาใหม่มิให้เป็นโรค โดยใช้สารเคมี ไซเน็บ หรือแคบตาโฟล ผสมสารจับใบฉีดพ่น 5 – 6 ครั้ง ในระยะที่ใบอ่อนกำลังขยายตัวจนมีขนาดโตเต็มที่
2. โรคเปลือกเน่า  (Mouldy rot)  
ลักษณะอาการของโรค     ในระยะแรกจะเห็นเป็นรอยบุ๋ม และมีสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีด ซึ่งเป็นลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกับอาการระยะแรกของโรคเส้นดำ ในระยะต่อมารอยแผลของโรคเปลือกเน่าจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทาขึ้นปกคลุมจนเห็นได้ชัด เมื่ออาการของโรครุนแรงขึ้นและสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อรา จะสังเกตเห็นเชื้อราเจริญและขยายลุกลามออกไปจนเห็นเส้นใยของเชื้อราเกิดขึ้นเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ซึ่งเปลือกบริเวณดังกล่าวนี้จะเน่าหลุดเป็นแอ่งเหลือแต่เนื้อไม้สีดำในที่สุด เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณข้างเคียงรอยแผลออกดูจะไม่พบอาการเน่าลุกลามออกไปแต่อย่างใดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค  
การป้องกันกำจัด
        1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ฉะนั้นในแปลงยางจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางอยู่เป็นประจำ เพื่อให้สวนยางโปร่งมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง
        2. ถ้าปรากฏว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางเสีย 2 – 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น
        3. โรคนี้นอกจากจะติดไปยังต้นอื่นได้ด้วยลมและแมลงแล้ว ยังอาจติดไปกับเสื้อผ้าของคนกรีด ภาชนะที่ใส่เศษยาง และมีดกรีดยางอีกด้วย ถ้าปรากฏว่าในสวนยางเป็นโรคนี้แล้วจะต้องควบคุมระมัดระวังสิ่งเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
3. โรคเปลือกแห้ง
สาเหตุ  
        - สวนยางขาดการบำรุงรักษา
        - การใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับเวลาที่กำหนด และใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
        - กรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป กรีดถี่เกินไป และใช้ระบบกรีดไม่ถูกต้อง
        - เกิดการผิดปกติภายในท่อน้ำยาง
ลักษณะอาการของโรค  ก่อนเกิดโรค ต้นยางที่จะเป็นโรคเปลือกแห้ง มักจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันให้สังเกตเห็นได้ ดังนี้
             1. น้ำยางบนรอยกรีดจะจับตัวกันเร็วกว่าปกติ
             2. น้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณมากกว่าปกติ การหยดของน้ำยางนานกว่าปกติ
             3. น้ำยางที่กรีดได้จะใส และมีปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำ
             4. เปลือกของต้นยางเหนือรอยกรีดจะมีสีซีดลง  
การป้องกันกำจัด  
        1. เอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก
        2. ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามจำนวนและระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ
        3. ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพันธุ์ยาง
        4. อย่ากรีดยางเมื่อยางยังไม่ได้ขนาดเปิดกรีด
        5. หยุดกรีดยางในขณะยางผลัดใบ
4. โรคเส้นดำ (Black Stripe)
ลักษณะอาการของโรค  
        เชื้อจะเข้าทำลายได้เฉพาะบริเวณเปลือกยางที่มีบาดแผลเท่านั้น โดย ส่วนใหญ่จะเข้าทำลายทันทีทางรอยกรีดใหม่ที่กรีดไปแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง บนผิวเปลือกยางที่ไม่มีบาดแผลใด ๆ เชื้อสาเหตุของโรคนี้จะไม่สามารถเข้าทำลายต้นยางได้ ฉะนั้นการกรีดยางให้ดีและถูกต้องจึงมีความสำคัญมาก
        ในระยะแรกหลังจากที่เชื้อราเข้าทำลายแล้ว จะเห็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีผิดปกติเป็นรอยช้ำ ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นเหนือรอยกรีด หากอาการรุนแรงมากขึ้นบริเวณที่เป็นรอยช้ำนี้จะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ และจะขยายตัวยาวขึ้นไปในแนวดิ่ง คือสูงขึ้นไปส่วนบนเหนือรอยกรีดและลงใต้รอยกรีดอย่างรวดเร็ว ระยะนี้จะสังเกตเห็นอาการของโรคได้ชัดเจน เนื่องจากส่วนที่ไม่เป็นโรคมีเปลือกงอกใหม่หนาเพิ่มมากขึ้น ทิ้งให้ส่วนที่เป็นโรคเป็นรอยบุ๋มลึกชัดเจน เนื่องจากเยื่อเจริญส่วนนั้นตายหมด เมื่อเฉือนเปลือกออกดูจะพบรอยบุ๋มสีดำนั้นมีลายเส้นสีดำ บนเนื้อไม้บริเวณแผล ซึ่งมักเป็นรอยยาวตามแนวยืนของลำต้น อาการขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกของหน้ายางบริเวณที่เป็นโรคปริ มีน้ำยางไหลออกมาตลอดเวลา และเปลือกบริเวณที่เป็นโรคนี้จะเน่าหลุดออกทั้งหมดในที่สุด ยางพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ได้แก่ RRIM600
การป้องกันกำจัด  
        1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก อย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้ เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหายและเป็นผลทำให้โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมาก
        2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชในสวนยางให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น เป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
        3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา
หมายเหตุ: และยังมีโรคอื่นๆอีกมากมายที่มีผลในด้านการปลูกต้นยางพารา  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น