ลักษณะส่วนต่างๆของยางพารา


ลักษณะส่วนต่างๆ ของยางพารา  

ยางพาราเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุยืนยาวหลายสิบปีเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้  





ราก - เป็นระบบรากแก้ว  
ลำต้น - กลมตรง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ  
1. เนื้อไม้ ยางพาราจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีสีขาวปนเหลืองอยู่ด้านในกลางลำต้น  
2. เยื่อเจริญ เป็นเยื่อบางๆอยู่โดยรอบเนื้อไม้มีหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยาง  
3. เปลือกไม้ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อเจริญออกมาด้านนอกสุด ช่วยป้องกันอันตรายที่จะมากระทบต้นยาง เปลือกของต้นยางนี้มีความสำคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางมาก เนื่องจากท่อน้ำยางจะอยู่ในส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกด้านในที่ติดอยู่เยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางอยู่มากที่สุด














ใบ - เป็นใบประกอบโดยทั่วไป 1 ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ มีหน้าที่หลักในการปรุงอาหารหายใจและคายน้ำ ใบยางจะแตกออกมาเป็นชั้น ๆ เรียกว่า "ฉัตร" ระยะเวลาเริ่มแตกฉัตรจนถึงใบในฉัตรนั้นแก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ยางจะผลัดใบในฤดูแล้งของทุกปี ยกเว้นยางต้นเล็กที่ยังไม่แตกกิ่งก้านสาขาหรือมีอายุไม่ถึง 3 ปี จะไม่ผลัดใบ












ดอก - มีลักษณะเป็นช่อมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกยางทำหน้าที่ผสมพันธุ์โดยการผสมแบบเปิด ดอกยางจะออกตามปลายกิ่งของยางหลังจากที่ต้นยางผลัดใบ












ผล - มีลักษณะเป็นพูโดยปกติจะมี 3 พู ในแต่ละพูจะม่เมล็ดอยู่ภายใน ผลอ่อนมีสีเขียวผลแก่มีสีน้ำตาลและแข็ง  














เมล็ด - มีสีน้ำตาลลายขาวคล้ายสีของเมล็ดละหุ่ง ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หนักประมาณ 3-6 กรัม เมล็ดยางเมื่อหล่นใหม่ๆจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมาก แต่เปอร์เซ็นต์ ความงอกนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพปกติเมล็ดยางจะรักษาความ งอกไว้ได้ประมาณ 20 วันเท่านั้น  





















น้ำยาง - เป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลืองขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำยางซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในเปลือกของต้นยาง ในน้ำยางจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็น "เนื้อยาง" และส่วนที่ "ไม่ใช่ยาง" ตามปกติในน้ำยางจะมีเนื้อยางแห้งประมาณ 25-45 เปอร์เซ็นต์  




ตัวอย่างพันธุ์ยางพารา




                             วงศ์ (Family): Euphorbiacea  จีนัส (Genus): Hevea
     สปีชีส์ (Species): brasiliensis
                             ชื่อสามัญ (Common name): para rubber

                                                                ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Hevea brasiliensis Mull-Arg









ราก 
มีระบบรากแก้ว (tap root system) เมื่อยางอายุ 3 ปี รากแก้วจะหยั่งลงดินมีความยาวประมาณ 2.5 เมตร มีรากแขนงที่แผ่ไปทางด้านข้าง ยาว 7-10 เมตร

ลำต้น
เป็นพวกไม้ยืนต้น ถ้าปลูกจากเมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย แต่ถ้าปลูกโดยใช้ต้นติดตาจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ความสูง 30-40 เมตร ต้นอ่อนเจริญเร็วมากทำให้เกิดช่วงปล้องยาว เมื่ออายุน้อยเปลือกสีเขียว แต่เมื่ออายุมากขึ้นสีของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อน เทาดำ หรือน้ำตาล เปลือกของลำต้นยางพาราแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ
1. cork เป็นส่วนที่เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุด
2. hard bark เป็นชั้นถัดเข้ามา ประกอบด้วย parenchyma cell และ disorganized sieve tube มีท่อน้ำยาง (latex vessel) ที่มีอายุมากกระจัดกระจายอย่างไม่ต่อเนื่อง
3. soft bark เป็นส่วนในสุดของเปลือกติดกับเนื้อเยื่อ cambium ประกอบด้วย parenchyma cell และ sieve tube มีท่อน้ำยางซึ่งเวียนขึ้นจากซ้ายไปขวาทำมุม 30-35 องศากับแนวดิ่ง ดังนั้นในการกรีดเพื่อเอาน้ำยาง จึงต้องกรีดลงจากซ้ายไปขวา เพื่อตัดท่อน้ำยางให้ได้จำนวนมากที่สุด
เปลือกของลำต้นที่ให้น้ำยางคือ hard bark และ soft bark มีความหนารวมกัน 10-11 มิลลิเมตร น้ำยางที่ได้เป็น cytoplasm ที่อยู่ในท่อ หลังจากกรีดแล้วเปลือกจะเจริญได้เหมือนเดิมโดยใช้เวลา 7-8 ปี

ใบ
เกิดเวียนเป็นเกลียว เป็นกลุ่มและท่อกลุ่มเรียกว่า ฉัตรใบ (leaf storey) ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ มีต่อมน้ำหวานที่โคนก้านใบ แต่ละใบรูปร่างแบบ ovate หรือ elliptical ยางพาราจะผลัดใบในช่วงต้นฤดูแล้ง ในภาคใต้จะผลัดใบในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ส่วนภาคตะวันออกจะผลัดใบในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ช่อดอกและดอก
ยางพารามีช่อดอกเกิดตามปลายกิ่ง เป็นแบบ panicle มีกิ่งแขนงมาก ช่อดอกเกิดขึ้นพร้อมกับใบใหม่ที่ผลัดหลังจากผลัดใบ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนช่อเดียวกัน

ผลและเมล็ด
ผลเป็นแบบ capsule โดยทั่วไปมี 3 เมล็ด เมื่อแก่ผลจะแตกออก เกิดเสียงดัง เปลือกหุ้มเมล็ดจะมีลาย เมล็ดมีทั้งส่วนของเอนโดสเปิร์มและใบเลี้ยง ใบเลี้ยงมีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำมันสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์

ที่มา :WWW.Google.com ตัวอย่างพันธุ์ยาง


พันธุ์ในยางภาคใต้
พันธุ์ยางพาราในภาคใต้
               สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง  ได้แนะนำพันธุ์ยางพาราที่ควรปลูกในภาคใต้ ดังนี้  ภาคใต้เขตฝั่งตะวันตก  ได้แก่  จังหวัดระนอง  ภูเก็ต พังงา   ส่วนใหญ่ของจังหวัดกระบี่ ตอนเหนือของจังหวัดตรัง และทางตอนใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2,000 ถึง 5,000 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 161 ถึง 227 วันต่อปี อาจจะมีลมแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต้นยางพาราในบางพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการเลือกพันธุ์ยางพาราเพื่อปลูกในเขตนี้ คือโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคเส้นดำ และโรคใบจุดนูน ที่โดยส่วนใหญ่เกิดกับต้นยางพาราอายุน้อย
พันธุ์ยางที่แนะนำ 
กลุ่ม 1 สถาบันวิจัยยาง 251         สถาบันวิจัยยาง 226         BPM 24
กลุ่ม 2 PB 235                          PB 260                          RRIC 110
 ภาคใต้เขตตอนกลาง ได้แก่ จังหวัดชุมพร พื้นที่ทางด้านตะวันออกและส่วนกลางของจังหวัด  สุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช  ด้านตะวันออกของจังหวัดกระบี่  ตรัง (ยกเว้นทางตอนเหนือ) พัทลุง  และจังหวัดสงขลา (ยกเว้นบริเวณชายแดนที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย) พื้นที่ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,800 ถึง 2,600 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 159 ถึง 174 วันต่อปี เป็นเขตที่ไม่มีข้อจำกัดในการเลือกพันธุ์ยางพารา สามารถปลูกได้ทุกพันธุ์ที่แนะนำ
         ภาคใต้เขตตอนใต้  ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ยกเว้นบริเวณที่อยู่ติดเขตชายแดนของประเทศมาเลเซีย)  พื้นที่ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 2,000 ถึง 3,000 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 159 ถึง 174 วันต่อปี  เขตนี้อาจมีปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา  โรคเส้นดำ และโรคจุดนูนในบางปีที่มีปริมาณน้ำฝนมาก  และบางพื้นที่ในจังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาสอาจมีปัญหาเนื่องจากสภาพลมแรง

       
 พันธุ์ยางที่แนะนำ 
กลุ่ม 1 สถาบันวิจัยยาง 251        สถาบันวิจัยยาง 226         BPM 24
กลุ่ม 2 PB 235                        PB 260
หมายเหตุ: บางพื้นที่ในจังหวัดยะลาและนราธิวาสที่มีลมแรงไม่ควรปลูกยางพาราพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251
         ภาคใต้เขตชายแดน ได้แก่ จังหวัดสตูล บางส่วนของจังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และบริเวณชายแดนที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย  พื้นที่ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2,500 ถึง 3,000 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 165 ถึง 175 วันต่อปี มีการระบาดของโรคราสีชมพู โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ
         พันธุ์ยางที่แนะนำ 
กลุ่ม 1 สถาบันวิจัยยาง 251        BPM 24             RRIC 110
กลุ่ม 2 PB 260
หมายเหตุ: พื้นที่ปลูกจังหวัดยะลาและนราธิวาสที่มีลมแรงไม่ควรปลูกยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 และ RRIC 110
         ภาคใต้ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น  มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการปลูกยางพารามากกว่าภาคอื่นๆ ในประเทศไทย เช่น ดิน ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ ความเร็วลม และต้นยางพาราในภาคใต้เปิดกรีดได้เร็วกว่าภาคอื่นๆ ประมาณ 6 เดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการให้ผลผลิตยางพาราของภาคใต้ให้ผลผลิตมากสุด ทั้งนี้พบว่าการให้ผลผลิตของต้นยางพาราไม่ว่าผลผลิตน้ำยางและหรือเนื้อไม้ขึ้นอยู่กับ 3 ประการ คือ พันธุ์ยาง ความเหมาะสมของพื้นที่ และการจัดการสวนยางพารา เพราะฉะนั้นในการปลูกสร้างสวนยางพารา นอกจากจะพิจารณาเลือกพันธุ์ยาง และการจัดการสวนยางพาราที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับปลูกยางพาราด้วย โดยพิจารณาจากปัจจัยดินและปัจจัยทางอากาศ ดังนี้ (ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)


ปัจจัยทางดิน
เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ถ้าความลาดชันเกินกว่า 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันได
หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหิน หรือชั้นดินดาน
ระบายน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร
เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย ไม่เป็นดินเกลือหรือดินเค็ม
ไม่เป็นพื้นที่นาหรือที่ลุ่มน้ำขัง สีของดินควรมีสีสม่ำเสมอตลอดหน้าตัดดิน
ดินไม่มีชั้นกรวดอัดแน่นหรือหินแข็งในระดับสูงกว่า 1 เมตร เพราะจะทำให้ต้นยางไม่สามารถใช้น้ำในระดับรากแขนงในฤดูแล้งได้ และหากช่วงแล้งยาวนานจะมีผลทำให้ต้นยางตายจากยอด  ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร หากสูงเกินกว่านี้อัตราการเจริญเติบโตของต้นยางพาราจะลดลง
ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 ไม่เป็นดินด่าง
ปัจจัยทางภูมิอากาศ
ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตรต่อปี
มีจำนวนฝนตก 120 ถึง 150 วันต่อปี











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น